การเข้าเล่มหนังสือ (Binding) เป็นหนึ่งกระบวนการหลังงานพิมพ์ที่จะทำให้หนังสือออกมาอย่างสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็น ไดอารี่ สมุด หนังสือ แคตตาล็อก วารสาร คูปอง เป็นต้น แต่รูปแบบการเข้าเล่มที่ยอดนิยมนั้นมีดังนี้ |
---|
1. เข้าเล่มแบบไสกาว (Perfect Binding) เป็นวิธีที่นิยมมากที่สุด เนื่องจากเข้าเล่มได้เรียบร้อย และที่สำคัญราคาถูก เหมาะสำหรับหนังสือที่มีความหนาประมาณ 70 หน้าขึ้นไป เช่น นิตยสาร หนังสือเรียน มีความแน่นหนาในการเข้าเล่มไม่มาก จึงทำให้ไม่สามารถกางหนังสือออกมากได้ เนื่องจากจะทำให้กระดาษหลุดออกจากไสกาว วิธีเข้าเล่มแบบไสกาว เป็นการนำกระดาษที่เรียงหน้าเรียบร้อยแล้ว มาไสกระดาษด้านข้างแล้วนำไปทากาว รู้หรือไม่! ที่ต้องไสสันก่อนทากาว เพื่อจะทำให้ยึดติดกระดาษได้ดี และนั่นคือที่มาของ “ไสกาว”
| |
2. เข้าเล่มแบบเย็บมุงหลังคา (Saddle Stitching) เป็นรูปแบบที่นิยมใช้กับการเย็บสมุด หนังสือ ที่มีจำนวนหน้าน้อยๆ ไม่เกิน 80 หน้า คือการเอากระดาษทั้งเล่มมาเรียงกันแล้วพับครึ่ง จากนั้นใช้เครื่องลวดเย็บลวดตรงแนวพับ 2-3 ตัว |
|
3. เข้าเล่มแบบเย็บกี่ (Thread Sewing) เป็นการเข้าเล่มหนังสือที่มีความแข็งแรงที่สุด เหมาะสำหรับเข้าเล่มหนังสือที่มีความหนามากๆ เช่น พจนานุกรม ดิกชันนารี สารานุกรม เป็นต้น วิธีการยุ่งยากพอสมควร โดยเอากระดาษทั้งเล่มมาแยกออกเป็นส่วนๆ แล้วใช้ด้ายเย็บแต่ละส่วนให้ยึดติดกันจะเหมือนเย็บมุงหลังคา จากนั้นจึงแต่ละส่วนมาร้อยรวมกันเป็นเล่มใหญ่อีกที แล้วจึงหุ้มด้วยปกอีกชั้น |
|
4. เข้าเล่มโดยเข้าห่วง (Ring Binding) มีความสวยงาม และหรูหรา แต่ราคาค่อนข้างสูง เนื่องจากใช้ห่วงพลาสติก หรือห่วงเหล็กในการเข้าเล่ม ทำให้สามารถกางหนังสือออกได้จนสุด นิยมใช้สำหรับงานพิมพ์ที่ไม่หนาเกินไป และทำจำนวนน้อย เช่น ปฏิทิน ไดอารี่ หรือ สมุดบันทึก |
|
5. เข้าเล่มกาวหัว (Padding) ใช้สำหรับพวกสมุดฉีก กระดาษโน้ต คูปองส่วนลด ฯลฯ เป็นการเข้าเล่มสำหรับให้ฉีกออกไปใช้ได้ง่าย วิธีการก็ง่ายมากเอากระดาษมาเรียงกันเป็นตั้ง แล้วเอากาวทาที่สันตรงหัวกระดาษ จึงได้ชื่อว่าการเข้าเล่มแบบ “กาวหัว” |
|